การบริหารจัดการทรัพย์สินสามารถเพิ่มปรับปรุงชีวิตในโรงพยาบาลได้อย่างไร
หากเราถามเคล็ดลับในการสร้างหนังจากผู้กำกับภาพยนตร์คนใดก็ตาม พวกเขาจะต้องกล่าวถึงการทำงานเบื้องหลังอย่างแน่นอน โรงพยาบาลก็ไม่ต่างกัน บ่อยครั้งที่ทีมงานซึ่งเรามองไม่เห็นจะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพย์สินต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ผู้มาเยี่ยม และบุคคลากรทางการแพทย์ต่างๆ การเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของทรัพยากรนี้ให้สูงสุดจึงนับเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับโรงพยาบาลในปัจจุบัน
ในสภาวะแวดล้อมที่มีการเรียกร้องด้านต่างๆ และงบประมาณที่จำกัดมากขึ้นทุกที ผู้บริหารโรงพยาบาลจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญสองด้านเกี่ยวกับทรัพย์สินของโรงพยาบาลอย่างถี่ถ้วน ประการแรกคือบำรุงรักษา ได้แก่การดูแลให้มั่นใจว่าทรัพย์สินต่างๆ จะปลอดภัยและพร้อมสำหรับใช้งานอยู่เสมอ ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือการบริหารวงจรอายุการใช้งาน และการเปลี่ยนทรัพย์สินต่างๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดด้านต้นทุนและการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปั่นไฟ เครื่องกรองอากาศ ระบบทำความร้อน ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ตาม ทุกอย่างจำเป็นต้องทำงานได้อย่างราบรืนและเต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ ดังนั้นประสบการณ์อันยาวนานด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินของโซเด็กซ์โซ่จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ทั้งสองประการ
การปฏิบัติงานที่ราบรื่นส่งเสริมการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
Central Manchester University Hospital Foundation Trust หนึ่งในโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป คือตัวอย่างที่ดีสำหรับหลักการข้อนี้ โซเด็กซ์โซ่รับผิดชอบบริหารจัดการทรัพย์สินมากกว่า 500,000 รายการ และให้บริการเชิงเทคนิคแบบ 24 ชั่วโมงแก่โรงพยาบาลห้าแห่งที่ตั้งอยู่ในวิทยาเขต ประเภทของทรัพย์สินครอบคลุมตั้งแต่การดูแลผู้ป่วย (เครื่องยก เก้าอี้ทำฟัน เตียงแบบพิเศษ) ไปจนถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ (โลหิต ยาและตู้แช่เวชภัณฑ์ ตู้รมควัน เครื่องไนโตรเจนเหลว) และทรัพย์สินที่เกี่ยวกับอาคาร (ลิฟท์ ช่องระบายอากาศ) การตรวจสอบความเสี่ยงที่เข้มงวดและกลยุทธ์ในการบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพย์สิน ทำให้สามารถลดอัตราการเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อการให้บริการอย่างต่อเนื่องได้
การจำกัดความเสี่ยงเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต
มาตรการทั้งหมดนี้ต่างมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญเพียงประการเดียวคือ: การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ผู้มาเยี่ยม และบุคคลากรทางการแพทย์ คุณประโยชน์ที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยคือการให้บริการที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดว่ากลยุทธ์นี้รวมถึงการวางแผนการปิดให้บริการบางพื้นที่เพื่อบำรุงรักษาและซ่อมแซมด้วย หากมีอุปกรณ์เสีย พนักงานที่ผ่านการอบรมทางเทคนิคซึ่งประจำอยู่ในไซต์งานพร้อมกับอุปกรณ์ครบครันจะเข้าไปแก้ไขภายในระยะเวลาตอบสนองสั้นที่สุด เรามุ่งมั่นที่จะจำกัดระยะเวลาที่เครื่องไม่สามารถทำงานได้ (Downtime) ให้น้อยที่สุดด้วยการเก็บอุปกรณ์สำรองต่างๆ ในพื้นที่ของโรงพยาบาล การตรวจสอบอย่างเข้มงวดว่าระดับให้แสงสว่าง ไฟฟ้า และออกซิเจนสามารถทำงานอย่างราบรื่น หมายถึงการจำกัดความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงต่อชีวิต ถูกจำกัดให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกัน ประสบการณ์ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลของผู้ป่วยและผู้มาเยี่ยมจะได้รับการปรับปรุงขึ้นจากทางเดินโล่งกว้าง พื้นสะอาดและแห้ง ประตูซึ่งสามารถเปิดและปิดอย่างเหมาะสมอยู่เสมอ และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในโรงพยาบาลที่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม
การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารโรงพยาบาล
การบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยและผู้มาเยี่ยมเท่านั้น โรงพยาบาลที่มีการบำรุงรักษาอย่างดีจะมีสภาพแวดล้อมเชิงบวกในการทำงานสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ รวมถึงสามารถเพิ่มกำลังใจและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพวกเขาอีกด้วย เนื่องจากพนักงานจะรู้สึกมั่นใจเมื่ออุปกรณ์ต่างๆ สามารถไว้วางใจได้และเป็นไปตามมาตรฐานข้อบังคับ และหากอุปกรณ์เสียก็จะมีแผนในการเปลี่ยนหรือซ่อมแซมอย่างชัดเจน สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดทำให้ทีมงานของโรงพยาบาลสามารถทุ่มเทความสนใจด้านการดูแลและรักษาผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่
แน่นอนว่าการใช้งานทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริหารโรงพยาบาล ข้อได้เปรียบสำคัญคือความต่อเนื่องของธุรกิจและการรับประกันว่าโรงพยาบาลจะสามารถให้บริการและปฏิบัติตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลได้อย่างแน่นอน การลดอัตราความล้มเหลวของอุปกรณ์และต้นทุนที่เกี่ยวข้องทำให้โรงพยาบาลสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และในภาคปฏิบัติ ทำให้สามารถกำหนดงบประมาณต้นทุนด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินได้อย่างมั่นใจมากขึ้น การตรวจสอบและวางแผนอย่างละเอียดถี่ถ้วนยังทำให้สามารถคาดเดาช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดในการแทนที่ทรัพย์สินอีกด้วย การคาดเดาที่แม่นยำในการลงทุนด้านทรัพย์สินสามารถช่วยประหยัดต้นทุนของทรัพย์สินเทียบกับอายุการใช้งานได้สูงสุดถึงร้อยละ 20 ทีเดียว
การให้บริการดูแลสุขภาพเป็นงานที่มีความซับซ้อนอย่างยิ่ง ในการตัดสินใจใดๆ ก็ตาม ผู้บริหารโรงพยาบาลจำป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ -- ต้นทุน ความสามารถในการทำงาน และความเสี่ยง การบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างสมดุลระหว่างปัจจัยทั้งสามนี้